บริษัท ไทยอินเตอร์แก๊ส แอนด์ เคมิคัล ซัพพลาย จำกัด (TIGCS)
โทร 02-348-0541, 093-325-8955, 085-561-5504
  • th

คุณสมบัติของแอมโมเนีย แอนไฮดรัส


คุณสมบัติของแอมโมเนีย แอนไฮดรัส

คุณสมบัติของแอมโมเนีย แอนไฮดรัส (Ammonia Anhydrous Property)

- เป็นแก๊สพิษ เมื่อมีความเข้มข้นในอากาศสูงเกิน 100-200 ppm
- รวมตัวกับน้ำทำให้ได้สารละลายด่าง (Ammonium Hydroxide)
- ที่ความดันบรรยากาศปกติ มีสถานะเป็นแก๊ส ไม่มีสี มีกลิ่นฉุนเฉพาะตัว
- แอมโมเนียมีกลิ่นฉุน ดังนั้นจึงสามารถเตือนภัยได้ด้วยตัวมันเอง สามารถรับรู้กลิ่นได้เมื่อมีความเข้มข้น 0.6 ppm
- เป็นแก๊สที่มีฤทธิ์กัดกร่อน และทำให้เกิดการระคายเคือง


- เป็นแก๊สที่มีจุดเดือดต่ำ มีจุดเดือดและกลายเป็นไอที่อุณหภูมิ ประมาณ –33.4 องศาเซลเซียส แก๊สจะกลายเป็นไอทันที ที่พ้นจากความดัน ถ้าส่วนหนึ่งส่วนใดของร่างกายคนเราสัมผัสกับน้ำแก๊ส จะทำให้ร่างกายส่วนนั้นเย็นจัดถึงไหม้ได้ 
- เป็นแก๊สที่เบากว่าอากาศ
 เมื่อมีสภาพเป็นไอ ไอแก๊สจะลอยขึ้นสูง โดยมีน้ำหนักเบากว่าอากาศประมาณ 0.59 เท่า
 น้ำหนักแอมโมเนีย NH3 : 14+3 = 17
 น้ำหนักอากาศ O2 : (16x2)x21% = 6.72 + N2 : (14x2)x79% = 22.12 = 28.84 17/28.84=0.59
- อัตราการขยายตัวสูง
 การเติมแก๊สลงในภาชนะ จึงไม่ควรเติมเต็ม
ควรเติมประมาณ 85 % ของภาชนะ เพื่อให้มีช่องว่างไว้สำหรับแก๊สขยายตัวเมื่อได้รับความร้อน
เพื่อป้องกันอันตรายจากภาชนะระเบิด
- ส่วนผสมของแก๊สกับอากาศที่ทำให้ติดไฟ
 อัตราส่วนของแก๊สในอากาศที่ทำให้ติดไฟคือ 15- 28 ส่วนใน 100 ส่วน ของส่วนผสม


- จะเห็นได้ว่าถ้ามีแก๊สน้อยกว่า หรือมากกว่าสัดส่วนดังกล่าวแก๊สจะไม่ติดไฟ ไม่ใช่แก๊สไวไฟ
- อัตราการขยายตัวของแก๊สจากสถานะของเหลวเป็นไอ น้ำแก๊ส 1 ลิตร เมื่อกลายเป็นไอ ขยายตัวได้ถึง 850 ลิตร
เมื่อน้ำแก๊สรั่วจึงมี “อันตราย”มากกว่าไอแก๊สรั่ว


จุดติดไฟได้เอง (Auto Ignition Temperature) ที่ประมาณ 651 อาศาเซลเซียส
ค่าความเข้มข้นที่อนุญาตให้สัมผัสได้โดยไม่เป็นอันตราย (TLV-TWA มีค่าเท่ากับ 25 ส่วนในล้านส่วน(ppm)) สำหรับการสัมผัสในช่วงเวลาสั้นๆ ไม่เกิน 15 นาที อนุญาตไม่เกิน 35 ส่วนในล้านส่วน
- อันตรายของแอมโมเนีย
การสูดดมแอมโมเนียที่เข้มข้นเกินกว่าที่มาตรฐานกำหนด (25 PPM) อาจเป็นสาเหตุให้เกิดการระคายเคืองจมูก และลำคอ
ความเข้มข้นที่สูงมากขึ้นอาจทำให้การหายใจลำบาก, เจ็บแน่นหน้าอก, ไอ, น้ำลายฟูมปาก และน้ำคั่งในปอด สามารถเกิดการสะสมของของเหลวในปอด ทำให้น้ำท่วมปอด และกีดขวางทางเดินหายใจ
แอมโมเนียมีสถานะเป็นแก๊สที่อุณหภูมิ และความดันปกติ จึงเป็นไปได้ยากที่จะเข้าสู่ร่างกายโดยการกิน
ไอระเหยของแอมโมเนีย ทำให้ระคายเคืองตา และอาจทำให้เกิดการแสบตา น้ำตาไหล และแก้วตาเสียโดยเฉียบพลันถ้าหากมีความเข้มข้นสูง
ถ้าหากสัมผัสโดยตรงอาจทำให้เกิดการไหม้จากความเย็นได้ ซึ่งส่งผลให้เกิดการบวมและแดงของเนื้อเยื่อจมูกที่ต่อเนื่องไปถึงดวงตา และภายในเปลือกตา ม่านตาและแก้วตาเสียหาย จนถึงขั้นเสียหายอย่างถาวร และกลายเป็นตาบอดในที่สุด
แอมโมเนียที่มีความเข้มข้นสูงจะกัดกร่อนผิวหนัง และทำให้เกิดการไหม้ที่ผิวหนัง
แอมโมเนียเหลวอาจทำให้เกิดอาการบวม แดง และผิวหนังเป็นแผลเปื่อยยุ่ย
แอมโมเนียเหลวที่สัมผัสโดยตรงอาจทำให้เกิดการไหม้จากความเย็น การไหม้เกิดขึ้นเพราะของเหลวที่สัมผัสกับผิวหนังดูดซับความร้อนอย่างรวดเร็วเพื่อกลายสถานะเป็นแก๊ส การไหม้จากความเย็นทำให้ผิวหนังบริเวณนั้นมีลักษณะคล้ายขี้ผึ้ง
แอมโมเนียไม่ได้ถูกจัดให้เป็นสารประเภทก่อมะเร็ง


อันตรายของแอมโมเนียที่เกิดจากอุปกรณ์
•        ท่อไม่ได้มาตรฐาน ไม่ได้รับการตรวจสอบและทดสอบ หรืออัตราการใช้งานของแก๊สไม่เหมาะสมกับคุณสมบัติของวัสดุที่นำมาทำท่อทำให้ท่อแตก(Cylinder Rupture)
•         วาล์วรั่ว(Valve Leak) เนื่องจากวาล์วไม่ได้มาตรฐาน หรือชำรุด ทำให้แก๊สแอมโมเนียรั่วออกสู่บรรยากาศ
•         ท่อแก๊สรั่วเนื่องจากใช้วัสดุที่ไม่เหมาะสมกับการทำงานที่เกี่ยวกับแอมโมเนีย